นี่คือหน้าตาของโปรแกรม Edius5
นำไฟล์สู่ Bin (Add File)
การนำไฟล์เข้าสู่ Bin เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำก่อนเสมอก่อนจะตัดต่อคลิปใด ๆ อาจกล่าวได้ว่า Bin ก็คือ ภาชนะในการใส่คลิปต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปตัดต่อนั่นเอง
ในกรณีที่คลิปวิดีโอได้จากการจับภาพด้วยกล้อง เราจะพบคลิปนั้นวางอยู่ใน Bin โดยอัตโนมัติ แต่ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ที่คลิปยังไม่เข้าไปอยู่ไน Bin เช่น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง ที่สำเนามาจากฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น อย่างนี้ต้องใช้คำสั่ง Add File เข้ามาไว้ใน Bin มีขั้นตอนการปฏิบัติตังนี้
คลิกขวาที่บริเวณพื้นที่ว่างบนหน้าต่าง Bin ด้านขวา จะปรากฏรายการคำสั่ง ให้เลือกคำสั่ง Add File หรือคีย์ลัดคือCtrl+O จะปรากฏหน้าต่าง Open จากนั้นก็เลือกไฟล์ที่เราต้องการ เมือ่เลือกแล้วก็คลิกที่ Open
การคัดเลือกภาพแบบอิงสามตำแหน่ง (3 points edit)
การคัดเลือกภาพเป็นหัวใจของการตัดต่อ เกินกว่า 60% ของงานในห้องตัดต่อคือการคัดเลือกภาพที่เหมาะสมมาจัดเรียงเป็นเรื่องเป็นราวตามผังเรื่อง (story board) ที่เตรียมการไว้ การคัดเลือกภาพด้วยเครื่องมือของโปรแกรมตัดต่อมีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในการใช้งานนั้น ๆ ในขั้นพื้นฐานจะสาธิตที่คัดเลือกภาพแบบอิงสามตำแหน่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่นักตัดต่อใช้กันมากที่สุด สามตำแหน่งที่จะกล่าวถึงนี้ได้แก่
ตำแหน่งเริ่มต้นของภาพที่ต้องการ มีชื่อคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า mark-in
ตำแหน่งสิ้นสุดของภาพที่ต้องการ มีชื่อคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า mark-out
ตำแหน่งที่ต้องการนำภาพไว้วางบน Timeline ตามเนื้อเรื่อง มีชื่อคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า target
วิธีการคัดเลือกภาพแบบอิงสามตำแหน่ง
คลิกหนึ่งครั้งที่คลิปใด ๆ ในหน้าต่าง Bin เป็นคลิปที่เราต้องการนำมาคัดเลือกภาพบางส่วน
กด Enter คลิปจะไปปรากฏที่หน้าต่าง Player (จอด้านซ้าย) สำหรับวัยรุ่นใจร้อนอาจใช้วิธีลากคลิปไปวางที่จอซ้าย(ตามทิศทางเส้นที่โยงไว้) ก็ได้เช่นกัน
คลิกที่จอซ้ายหนึ่งครั้ง บอกกับโปรแกรมว่า เตรียมตัวนะฉันจะใช้นายเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกภาพที่ต้องการ แบบอิงสามตำแหน่ง
กดปุ่ม L ให้ภาพวิดีโอเล่นบนจอ Player ซ้ายมือ เป็นการเล่นภาพวิดีโอแบบปกติ
กดปุ่ม L ซ้ำหลายครั้ง เมื่อต้องการให้ภาพเดินหน้าเร็ว ๆ ยิ่งซ้ำมากยิ่งเร็วมาก
กดปุ่ม K เมื่อต้องการให้ภาพหยุด
กดปุ่ม J เมื่อต้องการให้ภาพเดินถอยหลัง
กดปุ่ม J ซ้ำหลายครั้ง เมื่อต้องการให้ภาพเดินถอยหลังเร็ว ๆ ยิ่งซ้ำมากยิ่งถอยเร็วมาก
กดปุ่ม Home เพื่อให้ภาพกลับย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นของคลิป
กดปุ่ม End เพื่อให้ภาพกระโดดไกลไปถึงตำแหน่งภาพสุดท้ายของคลิป
ใช้ปุ่ม J K L ควบคุมการเล่นคลิปวิดีโอ เพื่อค้นหาภาพเริ่มต้นที่ต้องการคัดเลือกของคลิปนี้
นำเมาส์ไปคลิกที่แทร็กเป้าหมาย (ในที่นี้คือ kkuthai) เพื่อกำหนดว่า คลิปที่ได้คัดเลือก mark in/out ไว้แล้ว จะถูกนำไปวาง ณ แทร็กใด บน Timeline
คำสั่งควบคุม Edit line เบื้องต้น
เมื่อคลิปแรกเริ่มถูกนำไปวางบน Timeline และคลิปต่อมาเริ่มวางเรียงต่อกันเป็นเรื่องราว มีสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุม Timeline เบื้องต้น ดังนี้
วิธีการ Trim คลิปบน Timeline
นำเมาส์ไปคลิกที่ขอบด้านซ้ายของคลิป จะเกิดแถบสีขึ้นให้ลากขอบคลิปไปทาง ซ้าย-ขวา เพื่อยืด หรือ เล็มคลิป บางส่วนออก อย่างนี้เรียกว่า Trim mark-in
นำเมาส์ไปคลิกที่ขอบด้านขวาของคลิป จะเกิดแถบสีขึ้นให้ลากขอบคลิปไปทาง ซ้าย-ขวา เพื่อยืด หรือ เล็มคลิป บางส่วนออก อย่างนี้เรียกว่า Trim mark-out
การย้ายคลิป (Move) บน Timeline
คลิปเมื่อนำไปวางบน Timeline แล้ว สามารเคลื่อนย้ายตำแหน่งการวางได้
วิธีการเคลื่อนย้ายคลิปบน Timeline
นำเมาส์ไปคลิกซ้ายตรงกลางแถบคลิป คลิกค้างไว้
เลื่อนตำแหน่งคลิปไปทาง ซ้าย-ขวา ตามต้องการ
ขั้นตอนที่ 7 การตัดคลิปให้แยกออกเป็นสองส่วน
คลิปเมื่อนำไปวางบน Timeline แล้ว ตัดแยกออกจากกันได้
วิธีการการตัดคลิปบน Timeline
นำเส้น edit line ไปวางไว้จุดที่เราต้องการตัดแบ่งคลิปออกจากกัน
คลิกที่เครื่องมือ Add cut point ดังภาพ หรือกดปุ่ม C บนคีบอร์ด
คลิปก็จะขาดออกเป็นสองช่วงดังภาพ สามารถจับเลื่อนแยกออกจากกันได้
รู้จักชนิดของ Track ใน EDIUS
หน้าต่าง Timeline มี แทร็ก (Track) เป็นส่วนประกอบหลัก โปรแกรม EDIUS แบ่งแทร็กออกเป็นสามชนิด ตามประโยชน์ใช้สอย ดังนี้
แทร็ก VA เป็นแทร็กสำหรับวางคลิปที่มีทั้งภาพและเสียง
แทร็ก V เป็นแทร็กสำหรับวางคลิปที่มีแต่ภาพ
แทร็ก A เป็นแทร็กสำหรับวางคลิปที่มีแต่เสียง
แทร็ก T เป็นแทร็กสำหรับวางกราฟิกไทเทิล มีความพิเศษคือ สามารถใส่ผลพิเศษ (Effect) ที่ทาง Canopus ออกแบบมาเพื่อวางบนแทร็กประเภทนี้เท่านั้น
การทำทรานซิชันระหว่างภาพ
ทรานซิชันเป็นผลพิเศษ (Effect) ประเภทหนึ่ง กระทำระหว่างรอยต่อของคลิป ทรานซิชันมีมากมายหลายแบบให้เลือกใช้ แต่ที่เราคุ้นเคยกันที่สุดได้แก่ Dissolve ในที่นี้จะสาธิตการทำทรานซิชัน Dissolve ระหว่างคลิปสองคลิปวิธีการทำทรานซิชัน
ใช้วิธีคัดเลือกภาพแบบอิงสามจุด เลือกคลิปสองคลิปมาต่อแนบชิดกันบนแทร็กเดียวกันของ Timeline ในที่นี้คือคลิปที่ชื่อว่า Red Car และ Jump
เรียกหน้าต่าง Effect ขึ้นมาแสดง โดยใช้คำสั่ง View>Effect Palette
ที่หน้าต่าง Effect มองหาโหมด Transition แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้าโหมด Transition คลิกเครื่องหมาย + หน้าโหมด2D เลื่อนแถบเลื่อนลงมาจนเห็นรายการ Effect ที่ชื่อว่า Dissolve ให้นำเมาส์ไปคลิกที่ชื่อ Dissolve
ลากไอคอนของ Dissolve มาวางตรงรอยต่อของคลิปตัวอย่างบน Timeline
ถอยเส้น Edit line มาทางซ้ายในตำแหน่งก่อนหน้ารอยต่อคลิป จากนั้นกดปุ่ม L เพื่อดูผลลัพธ์ของ Dissolve การลบDissolve ทำได้โดยนำเมาส์ไปคลิกตรงรอยต่อคลิปบริเวณที่ Effect Dissolve วางอยู่ จนเกิดแถบคล้ำบริเวณนั้น แล้วกดปุ่ม Delete
การใส่ข้อความ เปิดหน้าต่าง Quick Title
คลิกเลือกแบบอักษรด้านล่าง>>พิมพ์อักษรการจัดเก็บไฟล์
ใช้คำสั่ง File>Save As เลือกโฟลเดอร์จัดเก็บ ตั้งชื่อไฟล์ กด Save บันทึกไฟล์อักษร สังเกตที่หน้าต่าง Bin จะมีไฟล์อักษรถูก Add เข้ามาใน Bin โดยอัตโนมัติ สามารถนำไฟล์นี้ไปวางไว้ที่แทร็ก T เป็นกราฟิกซ้อนบนภาพวิดีโอ
การจัดการเสียง
1.การแยกเสียงออกจากไฟล์วิดีโอ
คลิกขวาในไฟล์ที่เราต้องการแยกระหว่างไฟล์เสียงกับภาพบน time line จากนั้นเลือที่ Unlink เราก็จะสามารถแยกสัยงกับภาพออกจากกันได้
2.การปรับเพิ่มลดเสียง
ให้กดที่รูปสามเหลี่ยมเล็กด้านซ้ายมือตรงแถบเสียงของเรา หรือกด Alt+S แถบเสียงของไฟล์งานเราก็จะขยายออกมาดังภาพ
คลิกที่ดครื่องมือ VOL/PAN ดังภาพ โดยปุ่มนี้จะกดได้สองครั้ง ครั้งที่ 1 VOL จะหมายถึงระดับความดังของเสียง กดอีกครั้งจะเป็น PAN หมายถึงการแยกเสียงออกลำโพงซ้ายขวา
จากนั้นเส้นvolสีแดงเราสามารถใช้เม้าส์ลากขึ้นลงตามความต้องการของเราว่าช่วงใหนต้องการเสียงดัง
ช่วงใหนต้องการเสีงเบาลง ก็สามารถจัดการได้ตามที่เราต้องการ
การ Export งาน
1.เลือกที่ file>print>print to file หรือกดปุ่ม F11
2.จะมีหน้าต่างจัดการไฟล์ขึ้นมาดังภาพ ให้เราเลือฟอร์แมทหรือรูปแบบไฟล์วิดีโอที่เราต้องการ ในที่นี้แนะนำให้เลือกที่ MPEG(Generic) เมื่อเลืกได้แล้วให้คลิกที่ Export ด้านขวาล่าง
จะมีหน้าต่างขี้นมาให้เราจัดการเลือที่เก็บไฟล์และชื่อของไฟล์งานเรา ในหน้าต่างจะประกอบด้วย Save in หมายถึง location หรือตำแหน่งที่เราต้องการจะเก็บไฟล์งานของเรา File name หมายถึงชื่องานวิดีโอของเรา(สามารถตั้งเป็นชื่อภาษาไทยได้) จากนั้นกด Save รอจนกว่าโปรแกรมจะทำงานเสร็จสิ้นถือว่าสิ้นสุดการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Edius
ที่มา http://nedius.blogspot.com